ระวัง ความผันผวนจากปัญหาการเมืองยุโรป

สัปดาห์ที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกโดยรวมฟื้นตัวดีขึ้นหนุนโดยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาดในฝั่งเอเชียและยุโรป

จับตาการประเด็นการเมืองยุโรปและสถานการณ์COVID-19โดยตลาดการเงินอาจอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้นและพร้อมปิดรับความเสี่ยง หากการเจรจา Brexit ล้มเหลว หรือ สถานการณ์ COVID-19 เลวร้ายมากขึ้น

เงินดอลลาร์พร้อมกลับมาเป็นSafe Havenหากตลาดปิดรับความเสี่ยงทั้งนี้เงินดอลลาร์อาจไม่แข็งค่าไปมากเพราะฝั่งผู้ส่งออกพร้อมทยอยขายดอลลาร์ในช่วง 30.30-30.40 บาท/ดอลลาร์ ขณะเดียวกันแรงขายทำกำไรทองคำ จากฝั่งผู้เล่นตลาดทองคำก็ช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้

กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า30.00-30.40บาท/ดอลลาร์

มุมมองนโยบายการเงิน

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป(ECB)ในวันพฤหัสฯ ตลาดคาดว่า**ECB**จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย**(Deposit Rate)ไว้ที่ระดับ-0.50%**และอาจมีการประกาศเพิ่มวงเงินโครงการซื้อสินทรัพย์อย่างน้อย 5แสนล้านยูโร เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ –ตลาดมองว่าปัญหาการระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลง สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนธันวาคมที่ลดลงสู่ระดับ 76.5จุด จากราว 77จุดในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 9แสนล้านดอลลาร์ อาจช่วยพยุงความเชื่อมั่นผู้บริโภคและหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะสั้นได้ หากสภาคองเกรสสามารถอนุมัติมาตรการดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้

ฝั่งยุโรป –การเจรจาข้อตกลง Brexit ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยตลาดคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป (EU Leaders Summit) เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่อังกฤษจะออกจาก EU โดยไร้ข้อตกลง นอกจากนี้ในการประชุมดังกล่าวบรรดาผู้นำชาติยุโรปจะหารือร่วมกันในประเด็นงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณในส่วนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (EU Recovery Fund) วงเงินกว่า 1.8ล้านล้านยูโร ซึ่งเป็นความหวังสำคัญต่อเศรษฐกิจยุโรปหลังวิกฤติ COVID-19

ฝั่งเอเชีย –การส่งออกของจีนยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยล่าสุดยอดการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนโตถึง 21%จากปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดการนำเข้าโตเพียง 4.5% ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้าราว 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวราว 5% จากไตรมาสก่อนหน้า หลังจากหดตัวเกือบ 8% ในไตรมาสที่ 2 โดยปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของภาคการค้า โดยเฉพาะการส่งออกและการบริโภคในประเทศ

ฝั่งไทย–ติดตามการประกาศมาตรการลดการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติมจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตลาดมองว่าอาจจะเป็นการเพิ่มรายละเอียดของมาตรการที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ ทำให้ผลกระทบต่อค่าเงินบาทอาจมีไม่มาก อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญในระยะสั้นคือการระบาดของ COVID-19 ที่อาจส่งผลให้ตลาดลดการถือครองสินทรัพย์ไทยได้ หากการระบาดทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

Global Economic events calendarGlobal Economic events calendar

การเปิดเผยความเสี่ยง:การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น. ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น