เตรียมรับมือ หลายปัจจัยเสี่ยงในสัปดาห์นี้

สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินโดยรวมปิดรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการเจรจาBrexit,มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่สหรัฐฯ และปัญหาCOVID-19

ตลาดจะอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้นเพื่อรอดูความคืบหน้าการเจรจา Brexit รวมถึงสถานการณ์ COVID-19

เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้น หากตลาดปิดรับความเสี่ยง โดยเฉพาะจากความเสี่ยง No Deal Brexitทั้งนี้เงินดอลลาร์ก็อาจไม่แข็งค่าไปมากเพราะ FOMC มีโอกาสส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ส่งออกไทยต่างรอจังหวะขายดอลลาร์ในช่วง 30.30-30.40 บาท/ดอลลาร์ หากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมา

กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า30.00-30.40 บาท/ดอลลาร์

มุมมองนโยบายการเงิน

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC)ในวันพฤหัสฯ เราคาดว่าFOMCจะ“คง”อัตราดอกเบี้ย(Fed Funds Target Rate)ไว้ที่ระดับ0.00-0.25%และอาจส่งสัญญาณการปรับนโยบายการเงิน อาทิ การซื้อสินทรัพย์ (QE) ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ระบุว่าการทำ QE จะดำเนินต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจนจากวิกฤติ หรือ ขยายอายุคงเหลือของสินทรัพย์ในการทำ QE (ซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมากขึ้น)

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ(BOE)ในวันพฤหัสฯ เราคาดว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10%ทั้งนี้ตลาดจะจับตาการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจของ BOE ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงอย่าง No Deal Brexit และปัญหาการระบาดของ COVID-19

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันศุกร์ เราคาดว่า BOJ จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Policy Balance Rate) ไว้ที่ระดับ -0.10%และอาจมีการประกาศขยายเวลามาตรการช่วยเหลือบริษัทเอกชน อาทิ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ –การระบาดของ COVID-19 จะทำเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤศจิกายนจะหดตัว 0.3% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ภาคการผลิตและการบริการก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการโดย Markit (Manufacturing & Services PMIs) เดือนธันวาคมจะลดลงจากเดือนก่อน สู่ระดับ 55.8จุด และ 56จุด ตามลำดับ

ฝั่งยุโรป –ผู้เล่นในตลาดการเงินจะระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังการเจรจาข้อตกลง Brexit ยังไร้ข้อสรุป เพิ่มโอกาสที่อังกฤษจะออกจาก EU โดยไร้ข้อตกลง ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการที่จะลดลงจากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 53จุด และ 41จุด ตามลำดับ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) ก็จะลดลงจากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 90จุด

ฝั่งเอเชีย –เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายน ยอดลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) โตขึ้นราว 2.6%จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดค้าปลีก (Retail Sales) ขยายตัว 5% และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ก็โตถึง 7%

เตรียมรับมือปัจจัยเสี่ยงในสัปดาห์นี้เตรียมรับมือปัจจัยเสี่ยงในสัปดาห์นี้

การเปิดเผยความเสี่ยง:การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น. ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น