ตลาดหุ้นยังหวังกับเงินเยียวยาต่อท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

สหรัฐอเมริกาจะเริ่มได้ใช้วัคซีนต้านโควิดจริงภายในวันนี้- ยอดผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตจากโควิดขึ้นสร้างตัวเลขสูงสุดใหม่เมื่อวันศุกร์- เหล่าผู้วางนโยบายยังไม่สามารถตกลงเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้- การเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนยังไม่ชัดเจนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ที่แล้วหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในร่างกฏหมายลดช่องว่างรายจ่ายเพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินงานร่วมกันต่อไปได้ นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้ออกมาประกาศผ่านวิดีโอด้วยว่าวัคซีนจากไฟเซอร์ (NYSE:PFE) ตัวแรกจะได้รับการจัดการตามขั้นตอนก่อนแจกจ่ายอย่างเร็วที่สุดภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ข่าวดีนี้ช่วยผ่อนคลายบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นได้ในระดับหนึ่งที่นักลงทุนยังคงเป็นกังวลอยู่ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องข่าวเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าที่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด ยิ่งใกล้สิ้นปี 2020 เข้ามามากเท่าไหร่ ความกดดันก็ยิ่งมีสูงขึ้น แม้จะมีการลดจำนวนเงินเยียวยาลงมาจาก $900,000 ล้านเหรียญสหรัฐแล้วก็ตามแต่ประเด็นในตอนนี้ได้ปลี่ยนไปที่เรื่องของการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานแทน ดังนั้นธีมหลักของการลงทุนในสัปดาห์นี้ก็จะยังอยู่ที่การสลับไปมาระหว่างข่าวความคืบหน้าของการแจกจ่ายวัคซีน และยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวนเตียงคนไข้ที่มีในโรงพยาบาลสหรัฐฯ นับวันยิ่งลดน้อยลง ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดใกล้จะแตะ 300,000 คนแล้วและยอดผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดัชนีหลักสหรัฐฯ ขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ก่อนที่จะย่อตัวลดลงมานับเป็นครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ล่าสุดที่ตลาดหุ้นได้เห็นดัชนีหลักๆ ของประเทศปรับตัวลดลง ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลงมากกว่า 1% ในสามชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดตลาด คิดเป็นขาลงตลอดทั้งสัปดาห์ 1% นอกจากเอสแอนด์พี 500 แล้วดัชนีหลักอื่นๆ ก็มีพฤติกรรมการวิ่งที่ใกล้เคียงกัน ดาวโจนส์แม้จะมีราคาปิดสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์แต่ผลงานตลอดทั้งสัปดาห์กลับปรับตัวลดลง 0.6% แม้แต่แนสแด็กคอมโพสิตที่มักจะทำผลงานได้ดีในยามที่เพื่อนอ่อนแรงก็ยังปรับตัวลดลง 0.25% มากกว่าเอสแอนด์พี และดาวโจนส์อีกด้วยซ้ำ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นคาดว่าจะมาจากการโยกเงินของนักลงทุนไปยังหุ้นวัฐจักรอื่นที่เชื่อว่าจะฟื้นตัวหลังจากได้รับวัคซีนแล้วเหตุผลที่เราใช้คำว่า “คาดว่า” เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่านักลงทุนได้ย้ายเงินไปลงทุนในภาคส่วนอื่นหรือไม่เพราะหุ้นในกลุ่มพลังงานและการเงินก็ยังถือว่าทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐาน บางกลุ่มถึงกลับวิ่งลงเกือบ 1% หุ้นในกลุ่มวัสดุและสินค้าฟุ่มเฟือยก็ถูกกดให้อยู่ในขาลงเช่นเดียวกัน มีเพียงกลุ่มบริการในภาคคมนาคมเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้น 0.6%ตลาดแนสแด็ก 100 ปรับตัวลดลงประมาณ 1.2% ในสัปดาห์ที่แล้วโดยมีสาเหตุใหญ่ๆ มาจากขาลงของหุ้นเฟซบุ๊ก (NASDAQ:FB ) และเทสลา(NASDAQ:TSLA ) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้แจ้งกับพนักงานในวันศุกร์ว่าอาจจะต้องปิดโรงงานที่ผลิตรถยนต์รุ่น S และ X ชั่วคราวประมาณ 18 วันโดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคมเป็นต้นไป ส่วนเฟซบุ๊กกำลังเจอข่าวหนักเมื่อมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าหน่วยงานของรัฐอาจจะสามารถแยกอินสตาแกรม (Instagram) และวอทส์แอป (Whatsapp) ออกจากเฟซบุ๊กโดยอ้างเรื่องกฎหมายกีดกันทางการค้าได้ที่น่าประหลาดใจก็คือนักลงทุนก็ยังคงกล้าที่จะถือหุ้นเฟซบุ๊กเอาไว้อยู่แม้ว่าจะมีข่าวร้ายนี้ปรากฏออกมาก็ตามFacebook Inc กราฟ จากรูปจะเห็นว่าหุ้นเฟซบุ๊กกำลังวิ่งอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร ตามทฤษฎีแล้วสามเหลี่ยมสมมาตรคือความสมดุลระหว่างฝั่งอุปสงค์อุปทานที่อยู่ในระดับพอดีกันจนราคาไม่สามารถขยับไปไหนได้ แม้จะมีคนเชียร์ว่าหุ้นเฟซขุ๊กยังสามารถขึ้นต่อได้ แต่เมื่อดูอินดิเคเตอร์ทั้งสองตัวอย่าง MACD และ RSI แล้วถือว่าขาลงยังมีโอกาสช่วงชิงตลาดกลับมาได้เสมอส่วนหนึ่งของขาขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่แล้วของDow Jones Industrial Average เกิดขึ้นมาจากขาขึ้น 14% ของหุ้นดิสนีย์ (NYSE:DIS )ที่แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิดมาตลอดทั้งปีแต่ตัวเลขมูลค่าของบริษัทยังสามารถขึ้นเกิน $300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้าคู่แข่งคนสำคัญอย่างเน็ตฟลิกซ์ (NASDAQ:NFLX ) ที่มีมูลค่า $219,000 ล้านเหรียญสหรัฐไปได้ การเปิดตัวภาพยนตร์อย่างมากมายที่จะมีบนดิสนีย์พลัสทำให้บริษัทกล้ารับประกันว่าพวกเขาจะมียอดผู้สมัครสมาชิกเพื่อรับบริการเพิ่มขึ้นแีกสามเท่านักลงทุนยังคงถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากการวิ่งอยู่ในกรอบขาขึ้นของราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นนี้ส่งให้กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีย่อตัวลงมาต่ำกว่าระดับ 0.9% ที่น่าติดตามก็คือว่ายอดสูงสุดล่าสุดของกราฟตอนนี้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน หากไม่สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าเดิมได้ กรอบราคาขาขึ้นนี้ก็อาจจะต้องพังทลายลงในสักวันดัชนีดอลลาร์สหรัฐเจอจุดพักเหนื่อยใหม่หลังจากวิ่งลงมาตลอดสามสัปดาห์ติดต่อกันดอลลาร์สหรัฐ ตอนนี้กราฟฟอร์มตัวอยู่ในรูปแบบธง ต้องมาดูกันต่อว่าจุดพักเหนื่อยนี้จะพยุงขาลงเอาไว้ได้นานเท่าใดปอนด์สเตอร์ลิงวิ่งลงเป็นวันที่สองกลังจากสกุลเงินได้รับแรงกดดันที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันและประธานคณะกรรมธิการยุโรปพูดไปในทางเดียวกันว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การเจรจานี้จะจบลงที่ “ไม่มีการทำสนธิสัญญาใดๆ เพิ่มเติม”GBP/USD แต่จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคเรายังพบว่ากราฟสกุลเงินปอนด์เทียบดอลลาร์ยังคงวิ่งอยู่เหนือเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดเดือนมีนาคมโดยมีเส้นค่าเฉลี่ย 50 และ 100 วันหนุนอยู่อีกทีราคาทองคำ สามารถยืดระยะเวลาขาขึ้นเพิ่มมาได้เป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน นับเป็นครั้งแรกในรอบสองเดือนเลยทีเดียวราคาทองคำ แม้จะปรับตัวกลับขึ้นมาได้ แต่ภาพรวมของทองคำยังถือว่าอยู่ในขาลง กราฟยังวิ่งอยู่ในกรอบขาลงและยังวิ่งอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 50 และ 200 วันด้วยขาขึ้นของน้ำมันดิบเริ่มชะลอตัวอีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้สามารถขึ้นมาได้อย่างน่าจับตามองCrude Oil WTI Futures นับตั้งแต่ขาขึ้นสามารถยืนเหนือรูปแบบธงได้ ราคาน้ำมันดิบก็ไม่เคยวิ่งกลับลงไปอยู่ในกรอบราคาดังกล่าวอีกเลยข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)วันจันทร์21:00 (ประเทศจีน) รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 6.9% เป็น 7.0%วันอังคาร02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -29.8K เป็น 50.0Kวันพุธ02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะลดลงจาก 0.7% เป็น 0.6%03:30 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 57.8 เป็น 56.504:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 50.5 และ 55.9 ตามลำดับ08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 0.2% เหลือ 0.1%10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะลดลงจาก 15.189M เหลือ 1.424M14:00 (สหรัฐฯ) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ: คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง 0.25%19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขการจ้างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 178.8K เป็น 50.0Kวันพฤหัสบดี08:30 (สวิตเซอร์แลนด์) การประชุมอัตราดอกดบี้ยของธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์: คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง -0.75%05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะคงที่ -0.3%07:00 (สหราชอาณาจักร) การประชุมอัตราดอกดบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ: คาดว่าจะคงที่ 0.10%08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการอนุญาตก่อสร้าง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.544M เป็น 1.550M08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 853K เป็น 800K08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีภาคการผลิตโดยธนาคารกลางรัฐฟิลาเดเฟีย: คาดว่าจะลดลงจาก 26.3 เป็น 19.0(เวลาไม่ชัดเจน) (ญี่ปุ่น) การประชุมอัตราดอกดบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น: คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง -0.10%วันศุกร์02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขยอดขายปลีก: คาดว่าจะลดลงจาก 1.2% เป็น -4.2%04:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดบรรยากาศทางธุรกิจโดย Ifo: คาดว่าจะลดลงจาก 90.7 เป็น 90.505:30 (รัสเซีย) การประชุมอัตราดอกดบี้ยของธนาคารกลางรัสเซีย: คาดว่าจะคงที่ 4.25%08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขยอดขายปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.1% เป็น 0.3%

การเปิดเผยความเสี่ยง:การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น. ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น