เฟด“คง”ดอกเบี้ยและทำคิวอีจนกว่าเศรษฐกิจฟื้น
Fed Funds Target Range
Actual: 0.00-0.25% Previous: 0.00-0.25%
KTBGM: 0.00-0.25% Consensus: 0.00-0.25%
คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC)มีมติ ให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ0.00-0.25%โดยมองภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงานสหรัฐฯดีขึ้น แต่ทว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนวิกฤติ นอกจากนี้ FOMC พร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินทุกรูปแบบเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
เราคงมุมมองว่า FFTR จะอยู่ที่ระดับ 0.00-0.25% ไปอีก 2 ปี เป็นอย่างน้อยทั้งนี้ FOMC อาจส่งสัญญาณลดปริมาณการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE Tapering) ในช่วงปลายปี 2022 ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนขึ้นและเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าได้ในช่วงดังกล่าว
Next FOMC Decision: January 28 2021 (2AM)
คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติ ให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ**0.00-0.25%**
FOMCมองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤติขณะเดียวกันสภาวะทางการเงินปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือต่างๆทั้งนี้เฟดยังคงระมัดระวังการระบาดของ COVID-19ที่อาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจได้ในระยะกลาง
นอกจากนี้ FOMC จะคงปริมาณการซื้อสินทรัพย์ในอัตรา 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน เป็นอย่างน้อยเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดการเงิน จนกว่าเฟดจะบรรลุเป้าหมายในด้านความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานและเป้าหมายด้านอัตราเงินเฟ้อที่ 2%
เราคาดว่า นโยบายการเงินของเฟดจะผ่อนคลายไปอีกอย่างน้อย**2**ปี กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าต่อ แต่ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นได้ตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
แนวโน้มเงินดอลลาร์ยังคงเป็นขาลง เพราะเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องมหาศาลสู่ตลาดไปอีกนานเราคาดว่า ในส่วนขาลงของเงินดอลลาร์รอบนี้ มีโอกาสที่จะเห็นเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอีกราว 10-15% หนุนให้สกุลเงินตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะ EM Asia FX ที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Surplus) อย่าง เงินบาท สามารถแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์ได้ในปี 2022
อย่างไรก็ดี ต้องระวังการปรับเปลี่ยนมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องโดยหากเฟดส่งสัญญาณปรับลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE Tapering) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในปลายปี 2022 เมื่อตลาดแรงงานสหรัฐฯมีการจ้างงานดีขึ้น จนอัตราว่างงานเหลือ 4% เราอาจเห็นเงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น ปิดฉาดขาลงของเงินดอลลาร์ได้ ซึ่งจะคล้ายกับช่วง QE Taper Tantrum ในปี 2013
ยีลด์10ปี สหรัฐฯ ยังคงเคลื่อนไหวตามความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจสะท้อนผ่านความสัมพันธ์กับอัตราส่วน ราคาทองแดงกับราคาทองคำ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความหวังต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี หากเฟดประเมินว่า ยีลด์เคิร์ฟของสหรัฐฯ ชันขึ้นเร็วและมากเกินไป เฟดอาจมีการปรับสัดส่วนการทำ QE โดยเพิ่มการซื้อบอนด์ระยะยาวมากขึ้น กดดันยีลด์ระยะยาวให้ปรับตัวขึ้นได้ยาก หรือ ลดลงในระยะสั้นได้
FOMC economic projection
US dollar
UST yields