ระวังตลาดผันผวน หลังไทยเจอ COVID-19 ระลอกใหม่

สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาการระบาดของCOVID-19ในสหรัฐฯ กดดันให้แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจชะลอลงควรเฝ้าระวังความผันผวนที่อาจสูงขึ้นโดยปัจจัยเสี่ยงในสัปดาห์หน้ามีทั้ง การเจรจา Brexit รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยที่เริ่มมีการระบาดหนักขึ้นเงินบาทพร้อมอ่อนค่าลง หากตลาดปิดรับความเสี่ยงโดยในระยะสั้น แรงเทขายสินทรัพย์ไทยจากความกังวลสถานการณ์ COVID-19 อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง แต่เงินบาทจะไม่อ่อนค่าเร็วเพราะผู้ส่งออกไทยต่างรอจังหวะขายดอลลาร์ในช่วง 30.10-30.15 บาท/ดอลลาร์ อีกทั้งยังมีปัจจัยดุลการค้าเกินดุลคอยช่วยหนุนเงินบาทอีกด้วยกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า29.75-30.20บาท/ดอลลาร์มุมมองนโยบายการเงินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพุธ เราคาดว่า กนง.จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย(Repo Rate)ไว้ที่ระดับ0.50%ทั้งนี้ กนง. อาจส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากนี้ กนง. อาจเปิดเผยมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในการประชุมครั้งนี้มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลกฝั่งสหรัฐฯ –เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 ที่รุนแรง โดยยอดการใช้จ่ายครัวเรือน (Personal Spending) เดือนพฤศจิกายนจะหดตัว 0.2% จากเดือนก่อนหน้า ตามรายได้ของแรงงานที่ลดลง ไม่ว่าจากค่าจ้างที่ลดลง หรือ ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง เป็นต้น นอกจากนี้ภาพรวมตลาดแรงงานก็ยังซบเซาอยู่ โดยยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) จะเพิ่มขึ้นราว 8.5 แสนรายในสัปดาห์ที่ผ่านมาฝั่งยุโรป –ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย โดยต้องระวังความผันผวนในตลาดการเงินที่อาจเพิ่มสูงขึ้น หากการเจรจาจบลงโดยไม่มีข้อตกลง (No Deal Brexit)ฝั่งเอเชีย –ปัญหาการระบาดของ COID-19 ที่รุนแรงในญี่ปุ่นจะยังคงกดดันแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนพฤศจิกายนจะพลิกหดตัว 0.8% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราการว่างงาน (Jobless Rate) ก็ยังทรงตัวที่ระดับ 3.1%ฝั่งไทย –การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในไทย อาจสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินได้ในระยะสั้น ขณะเดียวกัน แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงหากการระบาดทวีความรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวด อย่างไรก็ดี ความต้องการสินค้าที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามภาพการค้าโลก จะช่วยหนุนให้ยอดการส่งออก (Exports) ในเดือนพฤศจิกายน หดตัว 3.5% จากระยะเดียวกันในปีก่อน ดีขึ้นจากที่หดตัวถึง 6.7% ในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี ยอดการนำเข้า (Imports) จะยังคงหดตัวราว 10% ทำให้ดุลการค้า (Trade Balance)เกินดุลกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ระวังตลาดผันผวน หลังไทยเจอ COVID-19 ระลอกใหม่

การเปิดเผยความเสี่ยง:การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น. ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น