นักลงทุนที่เชื่อว่าเงินเฟ้อกำลังจะมาต่างอยู่ในโลกแห่งความฝัน

ทฤษฎีหนึ่งที่มักพูดถึงเป็นประจำในโลกของการลงทุนก็คือการทำ QE และพิมพ์เงินคือวิธีที่จะทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด เชื่อไหมว่าเรื่องเล่าแบบนี้เราได้ยินมาเป็นทศวรรษแล้วแต่ความเป็นจริงก็คือการที่นิทานเหล่านี้ไม่เคยกลายเป็นความจริง สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาพูดว่า “การที่อัตราเงินเฟ้อขึ้นไม่ถึงเป้าของพวกเราคือภัยคุกคามทางเศรษฐกิจ” จึงทำให้สินทรัพย์ที่ทำหน้าที่คานกับอัตราเงินเฟ้อโดยตรงอย่างทองคำ หรือบิตคอยน์ กำลังสนุกสนานอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอย่างที่เห็นอยู่ตอนนี้ ที่มาของตำนาน QE

ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อนี้เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่แล้วในตอนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เพิ่มเงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบโดยตรงหรือที่ในวงการเรียกกันสั้นๆ ว่าทำ “QE” เป็นครั้งแรก ในช่วงเวลาหนึ่งมาตรการนี้เคยใช้ได้ผลกับตลาดการเงิน สินทรัพย์บางอย่างมีราคาสูงขึ้นแต่นั่นก็เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นอีกสิบปีต่อมา ธนาคารกลางก็ยังใช้ไม้นี้ในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ก่อนที่จะมีการระบาดเกิดขึ้น

สิ่งที่เรากำลังพยายามจะสื่อนั้นหมายความว่านักลงทุนในวันนี้อาจต้องเจอความผิดหวังอย่างที่เคยเกิดในทศวรรษที่ผ่านมา สังเกตได้จากวิกฤตการเงินในปี 2008 ที่การอัดฉีดเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นจากระดับราคาประมาณ $750 ขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดซึ่งเคยเป็นจุดสูงสุดตลอดกาลที่ประมาณ $1,900 ในเดือนสิงหาคมปี 2011 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาในอีก 7 ปีภายหลัง ลงไปยังจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่า $1,000 สถานการณ์นี้ไม่ได้แตกต่างออกไปเลยในตลาดซื้อขายทองแดง ที่ครั้งหนึ่งราคาเคยขึ้นจาก $1.30 ไปยังระดับราคาที่เกือบถึง $4.70 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในเวลาต่อมา Gold Price WeeklyGold Price Weekly

มีอีกคำพูดหนึ่งที่มักได้ยินจากเหล่าบรรดานักลงทุนคือ “ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย” และในตอนนี้เหตุการณ์นั้นก็กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง นอกจากทองคำ ทองแดงแล้ว ในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ตลาดมีน้องใหม่มาแรงเข้ามาร่วมด้วยอีกนั่นก็คือสกุลเงินดิจิทัลบิตคอยน์ เป็นความจริงที่ว่าการพิมพ์เงินของเฟดทำให้มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ร่วงลงต่ำสุดในรอบหลายปี แต่สำหรับเรื่องเงินเฟ้อนั้นก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป เกิดอะไรขึ้นกับเงินเฟ้อ

ความจริงที่ยังบอกไม่หมดสำหรับเรื่องของการทำ QE ก็คือหากภาครัฐอัดเงินเข้าระบบมากเกินไป สุดท้ายระบบอาจไม่ตอบสนองต่อเงินที่เพิ่มเข้ามาในระบบอีก เหมือนกับการที่แพทย์ให้ยากับผู้ป่วยเกินขนาดจนร่างกายของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยานั้นอีกต่อไป อ้างอิงตามข้อมูลจากปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) และรูปแบบการวัดสภาพคล่องที่มีในเศรษฐกิจ (MZM) ซึ่งเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ก็จะสามารถเห็นในสิ่งที่อธิบายไปได้ชัดเจนขึ้น Inflation RateInflation Rate

วิธีการที่จะคำนวณว่าเงินทุนสำรองของระบบเศรษฐกิจนั้นๆ มีอยู่เท่าไหร่สามารถทำได้โดยการเอาตัวเลข GDP ไปหารกับตัวเลขของ M2 หรือ MZM ยิ่งตัวเลขเงินสำรองมีสูงมากเท่าไหร่เมื่อเทียบกับตัวเลข GDP หมายความว่าการกระจายของเงินในระบบยิ่งเกิดขึ้นได้ช้าเพราะเงินในระบบมีมากเกินจนไม่สามารถกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคได้ ยกตัวอย่างเช่นในช่วงต้นปี 1980 เงิน $1 MZM เคยมีมูลค่าอยู่ที่ $3.80 ของตัวเลข GDP มาวันนี้ $1 MZM มีค่าเท่ากับ $1 ในตัวเลข GDP เท่านั้น สรุปง่ายๆ ก็คือว่าการพิมพ์เงินออกมามากเกินไปอาจส่งผลให้การเติบโตของตัวเลข GDP เกิดขึ้นได้ช้าลง Velocity Of MoneyVelocity Of Money หนังม้วนเดิม

เงินที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ พิมพ์ออกมาในทุกวันนี้กระจายไปอยู่ในสามที่หลักๆ หนึ่งคือบัญชีงบดุลของธนาคารต่างๆ สองคือกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และสามคือเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ ทั้งสามแห่งมีเงินไหลเวียนอยู่แล้รวมกันทั้งสิ้น $6,700,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เฟดมีเงินอยู่ในงบดุลบัญชีอยู่ที่ $7,200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อัตราเงินเฟ้อจะขึ้นตามที่เฟดต้องการตราบใดที่เงินยังกระจุกอยู่กับสามปัจจัยที่พึ่งกล่าวถึงไป Assets And LiabilitiesAssets And Liabilities

ดังนั้นคอนเซปของการพิมพ์เงินในวันนี้คือการปลูกผักชีโรยหน้าให้ดูเหมือนว่าตลาดยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่า่งเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2009-2010 แต่หลังจากนั้น นักลงทุนจะต้องพบกับความผิดหวังอย่างที่เคยเจอมาแล้วในช่วงนั้นด้วยเช่นกัน อย่างที่ผมเคยบอกไป “ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย”

การเปิดเผยความเสี่ยง:การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น. ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น